การควบคุมและการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษ

ลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม  จงปฏิบัติดังต่อไปนี้    

1.  ช่วยกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ในบริเวณบ้าน  โรงเรียน  สวนสาธารณะ และ  ตามถนนหนทางทั่วไป        
2.  ทิ้งขยะให้เป็นที่ คือทิ้งลงในถังขยะ  ไม่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง และจงกำจัดขยะให้ถูกวิธี 
3.  ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด  อย่าเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ หรือใช้เกินจำเป็นเพราะมีผลกระทบต่อการ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับบางประการมาสู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้เช่นกัน       
4.  เลือกใช้ของอย่างประหยัด  เพราะนอกจากต้องซื้อหามาแล้ว  ในการผลิตยังใช้พลังงาน อีกไม่น้อย  เมื่อทิ้งขว้างก็กลายเป็นของเสีย  เกิดพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ  จึงควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนทุกคราวไป  ดังนั้นขวดแก้วใส่น้ำหวานได้หลายต่อหลายครั้งจึงดีกว่ากระป๋อง  เพราะเราทิ้งกระป๋องเป็นขยะทุกครั้ง  แต่เราเอาขวดมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้       
5.  ชักชวนกันใช้ของธรรมชาติ  เช่น  ใบตอง  ดีกว่าของทำเทียมขึ้นมา  ซึ่งได้แก่  ถุง พลาสติก  กล่องโฟมเก็บความร้อนหรือความเย็น  เพราะช่วยลดภัยในสิ่งแวดล้อมในระหว่างการผลิตและเมื่อทิ้งเป็นขยะ    
6.  ควบคุมการผลิตและการใช้สารมลพิษซึ่งมีผลกว้างไกล  เช่น  น้ำยาบางชนิดในเครื่องทำ ความเย็น  น้ำยาดับเพลิงแบบใหม่ (ฮาลอน)  เป็นต้น

       
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราที่มีปริมาณมากมายมหาศาลสุดที่จะนับได้  ได้แก่  ดิน  น้ำ  อากาศ  พืช  สัตว์  คน และสารต่าง ๆ  ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์  นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น  แต่ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ได้แก่  พลังงานต่าง ๆ  เช่น  พลังงานความร้อน  แสง  เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า  เป็นต้น  เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมเสียหรือเป็นพิษ  หมายความว่า  สภาพของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์  ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินที่กล่าวกันว่า  ดินเสีย  น้ำเสีย  อากาศเป็นพิษ และแสง  เสียงเป็นพิษ